ร่มดี > ร่ม ของชำร่วยงานศพ > งานศพ งานฌาปนกิจ พร้อมพิธีกรรมและลำดับขั้นตอนจัดงานศพที่ควรรู้!
This post was updated on: November 30th 2024
งานศพ งานฌาปนกิจ พร้อมพิธีกรรมและลำดับขั้นตอนจัดงานศพที่ควรรู้!
การเกิด แก่ เจ็บ ตาย ล้วนเป็นเรื่องธรรมชาติ เป็นวัฏจักรของมนุษย์และสรรพสัตว์ที่ยังต้องเวียนว่ายตายเกิด
ดังนั้น คนเราเมื่อวันหนึ่งที่อายุไขหมดลงก็ต้องตายจากโลกนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นแล้วก็ต้องมีการจัดงานเพื่อเป็นเกียรติให้แก่ผู้เสียชีวิตและเตือนใจผู้ที่อยู่ให้ระลึกถึงคุณงามความดีของผู้ที่ละโลกไป ร่มงานศพ ร่มแจกงานฌาปนกิจ ร่ม ของชำร่วยงานศพ ราคาส่ง จัดส่งฟรี
นอกจากนี้ ยังเป็นการเตือนใจให้คนที่ยังมีชีวิตอยู่ได้เห็นถึงสัจจธรรมของชีวิตด้วยนั่นเอง
ซึ่งการจัดงานศพหรืองานฌาปนกิจนั้น มีประเพณีการปฏิบัติที่แตกต่างกันไปตามวัฒนธรรม ศาสนา และความเชื่อ ดังข้อมูลที่เราหยิบมาฝาก ดังต่อไปนี้
[สารบัญ]
งานฌาปนกิจ คือ
ก่อนที่จะไปดูรายละเอียดอื่นๆ เรามารู้จักความหมายของงานฌาปนกิจกันก่อนว่าเป็นอย่างไร และเป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อจุดประสงค์ใด
พิธีฌาปนกิจ คือ – คำว่า ฌาปนกิจ มีความหมายว่า ทำให้ไหม้ ซึ่งมีความหมายเฉพาะศพเท่านั้น หากเป็นสิ่งของหรือวัตถุอย่างอื่นจะไม่เรียกว่าฌาปนกิจ
ซึ่งการทำฌาปนกิจจะต้องทำในฌาปนสถานซึ่งเป็นสถานที่สำหรับเผาศพโดยเฉพาะ และต้องเป็นสถานที่ถาวรเพื่อการนี้ด้วย
หากเป็นสถานที่สำหรับเผาศพชั่วคราวจะเรียกว่าเชิงตะกอน
งานฌาปนกิจ ภาษาอังกฤษ คือ cremation
ทำไมต้องจัดงานฌาปนกิจ
ประเพณีการเผาศพ ปัจจุบันยังเป็นประเพณีที่ปฏิบัติอยู่ในประเทศไทยและอินเดีย
ซึ่งที่มาของความเชื่อในการเผาศพนั้น ก็มีอยู่ด้วยกันหลายประการ โดยสรุปได้ดังต่อไปนี้
1. เผาศพเพื่อจุดประสงค์ที่จะให้ศพนั้นสูญสิ้นไป
เนื่องจากคนทุกคนเกิดมาก็ต้องตาย หากเก็บศพเอาไว้ก็จะทำให้เกิดการทับถมกันจนล้น และต้องใช้พื้นที่กว้างขวางในการเก็บศพแทนที่จะนำพื้นที่เหล่านั้นไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น
2. เผาศพเพื่อเป็นกุศโลบาย
ให้คนที่อยู่ได้มีโอกาสพิจารณาถึงความเป็นจริงของชีวิตว่าทุกคนเกิดมาก็ต้องตาย แม้จะมีการเก็บศพเอาไว้ก็ไม่ได้มีประโยชน์อันใด ยังจะเป็นการสร้างความอาลัยอาวรณ์แก่ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่อีกด้วย
ดังนั้นจึงจัดพิธีฌาปนกิจเพื่อให้คนที่มีชีวิตอยู่ได้มีโอกาสบำเพ็ญบุญกุศลและพิจารณาถึงความเป็นจริงของชีวิต
ประเทศที่มีพิธีฌาปนกิจ
ทุกวันนี้ประเทศที่มีพิธีศพและมีพิธีในการเผาศพจะเป็นประเทศไทย อินเดียและญี่ปุ่น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพิธีที่ทำในคนที่นับถือศาสนาพุทธ ฮินดูและศาสนาพราหมณ์
การจัดงานฌาปนกิจหรือการจัดงานศพในอินเดีย
คนอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดูมักจะมีการจัดงานฌาปนกิจ งานศพตามวรรณะของผู้เสียชีวิต
แต่เนื่องจากคนอินเดียมีความผูกพันกับแม่น้ำคงคา ดังนั้น การจัดพิธีงานศพจึงมักจัดกันริมฝั่งแม่น้ำคงคา โดยจะเริ่มต้นจากการชำระร่างกายของผู้ตายให้สะอาด หากผู้ตายเป็นชายจะแต่งกายด้วยชุดสีขาว ส่วนผู้ตายที่เป็นหญิงจะแต่งกายให้ด้วยเสื้อผ้าหลากสีสัน
ชาวอินเดียจะนำศพมาตั้งไว้ที่กลางบ้าน ก่อนจะโปรยดอกไม้รอบศพพร้อมทั้งจุดตะเกียงเอาไว้เหนือศพผู้ตาย ด้วยความเชื่อที่ว่าจะเป็นแสงสว่างนำทางให้กับดวงวิญญาณ
จากนั้นก็จะหามศพด้วยแคร่ไปยังแม่น้ำคงคา ก่อนที่จะทำพิธีฌาปนกิจริมฝั่งน้ำคงคา แล้วโปรยเถ้าธุลีลงในแม่น้ำคงคาเป็นขั้นตอนสุดท้าย
การจัดงานฌาปนกิจหรือการจัดงานศพในญี่ปุ่น
การจัดพิธีศพของชาวญี่ปุ่นเรียกกันว่า Osoushiki
โดยที่ญี่ปุ่นนั้น การจัดพิธีศพจะใช้บริการของบริษัทที่รับจัดงานศพโดยเฉพาะ ซึ่งพิธีโดยหลักๆ จะมีการตั้งศพไว้ที่บ้าน มีการจัดแต่งโลงศพโดยประดับตกแต่งไปด้วยดอกไม้ โคมไฟและรูปถ่ายของผู้ตายโดยตั้งเอาไว้ด้านหน้าโลงศพ
ที่ญี่ปุ่นจะมีการนิมนต์พระมาสวดในตอนกลางคืน และในวันที่จะทำพิธีฌาปนกิจจะเชิญพระมาทำพิธีสวดมนต์ให้ศพก่อนจะทำการเคลื่อนย้ายไปยังสถานที่ฌาปนกิจ
เมื่อไปถึงบริเวณที่จะทำการเผาศพ พระจะสวดมนต์อีกครั้งและเปิดโลงให้ญาติได้ดูหน้าผู้ตายเป็นครั้งสุดท้ายอีกครั้ง ก่อนทำพิธีเผา
ลําดับขั้นตอน งานศพไทย พิธีงานศพไทย
งานฌาปนกิจ งานศพตามแบบไทยจะจัดขึ้นโดยผสมผสานความเชื่อทั้งทางพุทธศาสนา วัฒนธรรม และประเพณีของท้องถิ่น
โดยจะมีขั้นตอนในการทำพิธีงานฌาปนกิจศพ ลําดับขั้นตอน พิธีฌาปนกิจ งานฌาปนกิจ ขั้นตอน ดังต่อไปนี้
การอาบน้ำแต่งตัวให้ศพ
พิธีงานศพแบบไทยนั้น จะมีขั้นตอนที่ละเอียดประฌีต และทุกขั้นตอนก็เต็มไปด้วยความหมายที่แฝงอยู่
โดยขั้นตอนแรกจะเป็นการอาบน้ำศพเพื่อให้ร่างกายของศพสะอาด โดยใช้ขมิ้นและมะกรูดขัดถูให้ทั่วแล้วชำระล้างเรือนร่างด้วยน้ำสะอาด ซึ่งมีความเชื่อว่าผู้ตายจะเดินทางไปสู่โลกอื่นอย่างสะอาดบริสุทธิ์
เมื่ออาบน้ำเสร็จก็จะทำการหวีผมศพโดยจะหวีผมไปด้านหลัง 1 ครั้ง เพื่อเป็นความหมายว่าให้คำนึงถึงเรื่องราวในอดีตของผู้ตาย และหวีผมไปข้างหน้า 1 ครั้งเพื่อกำหนดอนาคตในเบื้องหน้าที่ผู้ตายกำลังจะเดินทางไป
จากนั้นหักหวีออกเป็น 2 ท่อนแล้วกล่าวว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
เมื่อหวีผมผู้ตายแล้ว ก็ทำการแต่งตัวโดยการทาแป้งหอมให้ทั่วร่างกายผู้ตาย โดยอาจจะแต่งตัวในชุดที่ผู้ตายเคยชอบใส่เมื่อครั้งยังมีชีวิตหรืออาจแต่งกายด้วยชุดผ้าขาวก็ได้
แต่ชุดที่แต่งให้กับศพนี้จะต้องมีการฉีกหรือตัดให้เสียหายบ้างเล็กน้อยและให้ใส่เสื้อผ้ากลับทางกัน เช่น กลับหน้าไปหลัง หรือหากเป็นผ้าถุงก็ให้กลับชายผ้าขึ้นด้านบน เป็นต้น
ความเชื่ออีกอย่างหนึ่งก็คือ การใส่เงินในปากศพ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเงินเหรียญเพื่อความเชื่อที่ว่าให้ผู้ตายใช้เป็นค่าเดินทางไปยังเมืองสวรรค์
จากนั้นก็ใช้ขี้ผึ้งปิดตาปิดปากศพ โดยเป็นคติธรรมที่ว่าให้ระวังรักษาทวารทั้ง 6 ให้ดี เพราะเป็นทางที่จะทำให้เกิดทุกข์ หากไม่สำรวมทางเข้าต่างๆ เหล่านี้
เมื่อแต่งตัวศพเสร็จก็จะทำการมัดศพที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า มัดตราสัง เพื่อป้องกันไม่ให้ศพพองตัวภายหลังจากเสียชีวิต โดยจะจับมือศพให้พนมมือถือกรวยดอกไม้ธูปเทียนจากนั้นใช้ด้ายดิบจับให้เป็นเส้นขนาด 3 ทบเพื่อให้เกิดความเหนียว ไม่ขาดง่าย พันเป็นห่วงคล้องมัดศพตั้งแต่คอไปจนถึงมือและเท้า
การตั้งศพเพื่อบำเพ็ญกุศล
ชาวไทยส่วนใหญ่สมัยก่อนนิยมตั้งศพไว้ที่บ้าน แต่ในปัจจุบันมักนิยมตั้งศพไว้ที่วัด เนื่องจากความสะดวกในการจัดงานพิธีและเพื่อเป็นการเอื้ออำนวยความสะดวกแก่ผู้มาร่วมพิธีได้ง่าย
โดยการตั้งศพบำเพ็ญกุศล จะตั้งสวดเป็นเวลา 3 วัน 5 วันหรือ 7 วัน และจะนิมนต์พระมาสวดอภิธรรมศพ เพื่อเป็นการทำบุญให้แก่ผู้ตายและเป็นกุศโลบายในการให้ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ที่มาร่วมงานได้พิจารณาถึงความเกิด แก่ เจ็บ ตาย และความไม่เที่ยงของสรรพสิ่งตามประเพณีที่นิยมมาแต่โบราณ
โดยจะนิมนต์พระมาสวดอภิธรรม 4 รูป และสวด 4 จบ ซึ่งหลังจากพระสวดอภิธรรมศพเสร็จแล้ว เจ้าภาพก็จะถวายเครื่องไทยธรรม หลังจากนั้นจึงจัดเลี้ยงข้าวปลาอาหารและเครื่องดื่มแก่แขกที่มาร่วมงานศพ
พิธีฌาปนกิจศพ
เมื่อตั้งสวดพระอภิธรรมศพครบตามจำนวนวันที่เจ้าภาพกำหนดแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะทำการเผาศพ
ซึ่งความเชื่อของคนไทยจะห้ามจัดพิธีฌาปนกิจในวันอังคาร และวันพระ เนื่องจากเชื่อว่าวันอังคารเป็นวันแรง และวันพระเป็นวันที่ต้องงดเว้นการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
หากมีสัตว์ตัวเล็กๆ หรือแมลงเข้าไปในเตาเผาศพก็จะเป็นการทำลายชีวิตของสัตว์เหล่านั้นที่ไม่เป็นสิ่งดีแก่ผู้ตาย ดังนั้นจึงหลีกเลี่ยงที่จะจัดพิธีฌาปนกิจในวันดังกล่าว
ลําดับขั้นตอน พิธีฌาปนกิจ
1. ก่อนการเคลื่อนย้ายศพไปยังสถานที่ฌาปนกิจ
จะนิมนต์พระมาสวดศพอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นจึงทำการเคลื่อนย้ายศพ โดยในสมัยโบราณอาจใช้วิธีการหามหรือในปัจจุบันนี้จะใช้การจูงศพโดยนำโลงศพวางบนรถ ก่อนจะโยงสายสิญจน์จากรถมาให้แก่ญาติและผู้มาร่วมงานได้ทำการจูงศพเข้าสู่ฌาปนสถาน
โดยในขบวนจูงศพนี้จะมีพระสงฆ์นำหน้าขบวน จากนั้นก็เป็นลูกหลานหรือญาติพี่น้องที่บวชให้ และเป็นญาติคนอื่นๆ รวมถึงเพื่อนฝูงและผู้มาร่วมงานตามลำดับ
2. ก่อนทำการเผาศพ
จะมีการทอดผ้าบังสุกุล โดยนิมนต์พระสงฆ์ขึ้นไปบนเมรุเพื่อพิจารณาผ้าบังสุกุล หรืออาจจะใช้วิธีการทอดผ้าวางบนด้ายโยงมายังอาสนะสงฆ์แต่ละรูป จากนั้นพระสงฆ์จึงทำการพิจารณาผ้าบังสุกุล
3.ขั้นตอนสุดท้าย
จะเป็นการวางดอกไม้จันทน์เพื่อเป็นการส่งผู้ตายเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนเริ่มพิธีฌาปนกิจหรือทำการเผาศพ
4.หลังจากฌาปนกิจเสร็จแล้ว
จะมีการเก็บกระดูกหรืออัฐิหลังจากเผาศพในวันรุ่งขึ้น ลูกหลานและญาติมิตรจะนิมนต์พระสงฆ์มาสวดและทำพิธีถวายสังฆทานอีกครั้ง ก่อนจะนำอัฐิไปลอยอังคารและเก็บอัฐิบางส่วนเอาไว้ในโกฐิ เพื่อนำไปเก็บรักษาไว้ที่โบสถ์หรือศาลาวัดหรือที่บ้าน และจะมีการทำบุญอัฐิต่อมาหลังจากนั้น
พิธีงานฌาปนกิจ งานศพ เป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติและระลึกถึงผู้ตาย และยังเป็นพิธีกรรมที่ทำให้ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ได้มีโอกาสระลึกถึงผู้ตายและพิจารณาถึงความไม่เที่ยงแท้ของสรรพสิ่ง
ทำให้มีความตั้งใจในการทำความดีและทำบุญกุศลกันมากขึ้นต่อไป
ร่มงานศพ ร่มแจกงานศพ ร่มงานฌาปนกิจ ร่มของชำร่วย
ความพึงพอใจของลูกค้า คือเป้าหมายสูงสุดของร่มดี
สั่งซื้อ ร่มงานศพ/ร่มงานฌาปนกิจ
ขั้นตอนที่ 1
เลือกแบบร่มของคุณ
เลือกแบบร่มที่คุณลูกค้าต้องการ เช่น ร่มแจกงานศพ แบบร่มไม้เท้า สติ๊กเกอร์สีทอง, ร่มแจกงานศพ แบบร่มพับ 2 ตอน สติ๊กเกอร์สีเงิน เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 2
ระบุจำนวนร่มที่ต้องการ
แจ้งจำนวนร่มที่คุณลูกค้าต้องการสั่งซื้อ (ขั้นต่ำในการสั่งซื้อ 100 คัน)
ขั้นตอนที่ 3
สรุปรายละเอียดร่ม
ตกลงรายละเอียดในการผลิตร่ม ตามที่คุณลูกค้าต้องการ
ขั้นตอนที่ 4
ชำระเงินค่ามัดจำ
ร่มดี แจ้งระยะเวลาในการดำเนินการพร้อมสรุปราคา และวิธีการจัดส่ง ชำระเงินงวดแรก 50% และชำระส่วนที่เหลือเมื่อได้รับสินค้าเรียบร้อย
ติดต่อร่มดี
บริษัท วี โกลบอล เทรดดิ้ง จำกัด
460/1 หมู่ที่ 3 ซอยสุขสวัสดิ์ 14/1 ถนนสุขสวัสดิ์ แขวงจอมทอง เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150
แฟกซ์: 02-4771859