คลิกโทร 095-8370033 .. . หรือ LINE@ id: @Rom_dee

 

ร่มดี > ร่มพระ > พระภิกษุ สามเณร
This post was updated on: December 2024

พระภิกษุ สามเณร

ชาวพุทธที่มีความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา ต่างให้ความเคารพศรัทธาแก่ พระภิกษุ สามเณร ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้สืบทอดศาสนา

เพราะต้องทำหน้าที่ในการศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และน้อมนำมาปฏิบัติ

รวมทั้งเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแด่ชาวโลก จึงเรียกได้ว่าทั้งพระภิกษุ สามเณร คือ ผู้นำแสงสว่างทางธรรมจากพระพุทธเจ้ามาสู่ชาวโลกอย่างแท้จริง

[สารบัญ]

 

ต้นกำเนิดของพระภิกษุ สามเณร

ประวัติพระภิกษุ พระภิกษุคือใคร – สำหรับต้นกำเนิดของพระภิกษุสามเณรนั้น เริ่มต้นจากพระภิกษุองค์แรกของพระพุทธศาสนา โดยมีที่มาจากสมัยพุทธกาล เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และแสดงพระธรรมเทศนาเป็นครั้งแรก ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5

พระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนาคือใคร – ซึ่งทำให้พราหมณ์โกญฑัญญะเกิดความเลื่อมใสจนได้ดวงตาเห็นธรรม จึงขออุปสมบทเข้าสู่ร่มพระพุทธศาสนาซึ่งพระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาต จึงทำให้พระอัญญาโกณฑัญญะได้ชื่อว่าเป็นพระภิกษุองค์แรกของพระพุทธศาสนา

ส่วนสามเณรรูปแรกของพระพุทธศาสนานั้น คือ พระราหุล ซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระพุทธเจ้า

โดยมีสาเหตุเริ่มต้นมาจากพระนางพิมพายโสธราซึ่งเป็นพระมารดาของพระราหุล ได้ตรัสให้พระองค์ไปทูลขอราชสมบัติจากพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นพระบิดาของพระราหุล ซึ่งเมื่อพระพุทธองค์ทรงพิจารณาคำขอของพระโอรสและเห็นว่าราชสมบัตินั้นเป็นทรัพย์สินทางโลก ที่นับวันมีแต่จะเสื่อมลงไป ไม่มีความเที่ยงแท้แน่นอน จึงทรงสั่งให้พระราหุลบวชเป็นสามเณร โดยให้พระสารีบุตรรับเป็นพระอุปัชฌาย์

ดังนั้น พระราหุลจึงได้ชื่อว่าเป็นสามเณรรูปแรกในพระพุทธศาสนา ศาสนาพุทธ

พระภิกษุ สามเณร

ความเป็นมาของพระภิกษุ สามเณรในประเทศไทย

พระพุทธศาสนาได้มีการเผยแผ่มายังดินแดนสุวรรณภูมิตั้งแต่สมัยทวารวดี

โดยพระเจ้าอโศกมหาราชได้ส่งพระสมณทูตมาเผยแผ่พระพุทธศาสนายังดินแดนแถบนี้ นำโดยพระโสณะและพระอุตตระ พระเถระชาวอินเดียได้เผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ และทำให้พุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองโดยลำดับมาตั้งแต่ยุคสมัยทวารวดี, สุโขทัย, อยุธยา, กรุงธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน

ชาวไทยพุทธนิยมส่งบุตรหลานบวชเป็นสามเณร เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย และชายไทยก็นิยมบวชเป็นพระภิกษุ เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยและสืบทอดพระพุทธศาสนา

รวมถึงมีความเชื่อกันว่าการบวชเป็นพระภิกษุนั้นถือว่าเป็นการตอบแทนพระคุณบิดามารดา เนื่องจากคนไทยแต่โบราณมีความเชื่อกันว่า หากให้ลูกชายบวชเป็นพระภิกษุก็จะทำให้พ่อแม่ได้เกาะชายผ้าเหลืองขึ้นสู่สวรรค์

ดังนั้น การบวชเป็นพระภิกษุสามเณรในประเทศไทยยังคงเป็นสิ่งที่มีการสืบทอดกันมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบันและต่อเนื่องไปสู่อนาคต เนื่องจากคนไทยยังคงมีความเลื่อมใสต่อพระพุทธศาสนา และนิยมบวชลูกหลานเป็นพระภิกษุ สามเณรเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา

ซึ่งเป็นการสร้างอานิงสงฆ์ผลบุญอันยิ่งใหญ่แก่ผู้บวชและพ่อแม่ อีกทั้งยังเป็นการยังประโยชน์แก่ผู้คนจำนวนมาก ที่จะได้รับการสั่งสอนพระธรรมวินัยจากผู้บวชในพระพุทธศาสนาอีกด้วย

 

คำว่า พระภิกษุ ภาษาอังกฤษ คือ Monk

คำว่า สามเณร ภาษาอังกฤษ คือ Novice

สามเณร อ่านว่า สามมะเนน (สามเณร คําอ่าน คือ สามมะเนน)

 

พระภิกษุและสามเณรแตกต่างกันอย่างไร?

คำว่า พระภิกษุ และ สามเณร มีความหมายที่ต่างกัน หลายคนมักเข้าใจว่าพระภิกษุคือ พระที่ผ่านพ้นจากวัยเด็กเข้าสู่วัยผู้ใหญ่แล้ว ในขณะที่สามเณรคือ พระที่ยังอยู่ในวัยเยาว์ ซึ่งความเข้าใจดังกล่าวถือว่ายังไม่ครบถ้วนเสียทีเดียว

ดังนั้น เราจึงจะมาทำความเข้าใจถึงความแตกต่างของพระภิกษุและสามเณร ดังต่อไปนี้

 

พระภิกษุ

เป็นคำที่ใช้เรียกขานนักบวชพระพุทธศาสนาที่เป็นชาย ต้องถือศีลทั้งหมด 227 ข้อ มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป (พระภิกษุถือศีลกี่ข้อ) ชาวพุทธหลายคนมีความเข้าใจว่าคำว่า ภิกษุ แปลว่า ผู้ขอ

ซึ่งความจริงแล้ว คำว่าภิกษุมีความหมายที่มีหลายนัยดังต่อไปนี้

– ภิกษุ มีความหมายว่า ผู้เห็นภัยในสังสารวัฏ ที่ประกอบไปด้วยความ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นผู้ที่มองเห็นภัยของสงสารทั้งสาม คืออบายภูมิ, มนุษย์กับเทวดา และพรหมโลก และมีความต้องการที่จะพ้นจากภัยเหล่านี้

– ภิกษุ มีความหมายว่า ผู้สละแล้วซึ่งกิเลสทั้งปวง เป็นผู้มีหน้าที่ศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนและนำมาปฏิบัติเพื่อกำจัดกิเลสต่างๆ ให้หมดสิ้นไป

– ภิกษุ มีความหมายว่า ผู้กำจัดอกุศลธรรมอันลามก ซึ่งหมายถึง อกุศลธรรมทั้งปวงที่มีมูลเหตุมาจากความโลภ โกรธ หลง

– ภิกษุ มีความหมายว่า ผู้กำลังศึกษาพระธรรมเพื่อบรรลุมรรคผล และเมื่อเจริญวิปัสสนาจนได้บรรลุพระอรหัตตผลแล้ว จึงจะเรียกว่าผู้ไม่ต้องศึกษาอีกต่อไป

– ภิกษุ มีความหมายว่า ผู้เลิศด้วยศีล สมาธิและปัญญา และเป็นผู้เจริญด้วยคุณธรรม

– ภิกษุ มีความหมายว่า ผู้ผ่องใส ทั้งกาย วาจา ใจ ปราศจากกิเลสโดยสิ้นเชิง

จะเห็นได้ว่าภิกษุมีความหมายอยู่ด้วยกันหลายอย่าง ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นความหมายที่ดีงามและประเสริฐอย่างยิ่ง

 

สามเณร

เป็นคำที่ใช้เรียกขานนักบวชพระพุทธศาสนาที่เป็นชายเช่นกัน แต่ยังเป็นผู้ที่มี อายุน้อยอย่างต่ำตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป ถือศีล 10 ข้อ และยังไม่ได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ (เณร ถือศีลกี่ข้อ)

ผู้ที่บวชเป็นสามเณรตั้งแต่อายุไม่เกิน 20 ปี สามารถดำรงสมณะเป็นสามเณรอยู่จนตลอดชีพโดยไม่ต้องบวชเป็นพระภิกษุก็ได้

คุณสมบัติของผู้ที่จะบวชเป็นพระภิกษุ สามเณร

ผู้ที่จะบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์นั้น ตามพระธรรมวินัยกำหนดว่าจะต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

  1. เป็นเพศชาย มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ มีความสูงตั้งแต่ 150 เซนติเมตรขึ้นไป
  2. เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติดี มีความประพฤติที่ถูกต้องชอบธรรม ไม่มีพฤติกรรมเสียหาย อย่างเช่น ติดยาเสพติด, ติดสุรา เป็นต้น
  3. เป็นผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ที่จะบวช หรือหากมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอื่นแต่ตรวจสอบแล้วเป็นผู้ที่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ก็อนุญาตให้บวชได้
  4. มีความรู้ สามารถอ่านเขียนได้
  5. มีร่างกายสมบูรณ์ และไม่เป็นบัณเฑาะก์หรือกะเทย (บัณเฑาะก์ ในทางพระพุทธศาสนา หมายถึง กะเทย)
  6. ไม่เคยทำผิดต่อพระศาสนาและไม่เคยทำความผิดร้ายแรง เช่น ฆ่าบิดามารดาของตน, ฆ่าพระอรหันต์ หรือเคยต้องอาบัติปาราชิกมาตั้งแต่บวชครั้งก่อน

 

ส่วนผู้ที่จะบวชเป็นสามเณรจะต้องมีคุณสมบัติ คือ มีอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไปและไม่เกิน 20 ปี ซึ่งทางพระธรรมวินัยไม่ได้มีการกำหนดความสูงของผู้ที่จะบวชสามเณรเอาไว้ เพียงแค่กล่าวว่าหากพอจะไล่ไก่ไล่กาได้ก็อนุญาตให้บวชได้เช่นกัน

ข้อควรปฏิบัติของชาวพุทธที่ควรมีต่อพระภิกษุ สามเณร

พระภิกษุ สามเณร คือ บุคคลสำคัญที่มีหน้าที่ในการสืบสานพระพุทธศาสนา

ดังนั้น ชาวพุทธจึงมีหน้าที่สำคัญที่จะต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้

  1. การแสดงความเคารพต่อพระภิกษุ สามเณร ด้วยกิริยาและจิตใจที่นอบน้อมสำรวม หากพระภิกษุ สามเณรเดินเข้ามาในบริเวณพิธีต้องลุกขึ้นต้อนรับจนกระทั่งท่านเดินผ่านมาให้ยกมือไหว้ เมื่อท่านนั่งประจำที่แล้วจึงนั่งลงตามปกติ
  2. ให้ที่นั่งแก่พระภิกษุ สามเณร ให้ท่านอยู่ในที่ที่สูงกว่า หากอยู่ในระดับเดียวกันต้องปูผ้า, เสื่อ, พรมหรืออาสนะให้ท่านนั่ง
  3. เมื่อพระภิกษุ สามเณร มาเยือนที่บ้านหรือมาในพิธี ต้องรับรองท่านเป็นอย่างดีด้วยการจัดหาน้ำท่ามาถวาย และจัดเตรียมอาสนะที่นั่งให้ท่านอย่างเรียบร้อย
  4. สนทนาแก่พระภิกษุ สามเณร ด้วยวาจาที่มีความอ่อนน้อม สุภาพ สนทนาในเรื่องที่เป็นประโยชน์ ไม่สนทนาในหัวข้อเรื่องที่ไม่เหมาะสม งดเว้นการวิจารณ์หรือการพูดถึงบุคคลอื่นในสิ่งที่ไม่ดี สตรีไม่ควรอยู่สนทนากับพระภิกษุ สามเณรแต่เพียงลำพัง
  5. แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย เมื่อไปหาพระภิกษุ สามเณร ควรแต่งกายให้สุภาพ สุภาพสตรีไม่ควรใส่เสื้อผ้าชุดสั้นเหนือเข่า, สายเดี่ยวหรือแขนกุด และเนื้อผ้าไม่ควรบางมากจนเกินไป
  6. ช่วยเหลือในกิจธุระของพระภิกษุ สามเณร ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนปัจจัย 4, สนับสนุนในด้านการศึกษาพระธรรมวินัย, สนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของทางวัดไม่ว่าจะเป็นงานบุญกุศล, การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์, การทำนุบำรุงวัดและสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา
  7. ปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอน สนับสนุนการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

พระภิกษุ สามเณร คือผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการสืบทอดพระศาสนา ดังนั้น ชาวพุทธจึงควรปฏิบัติต่อพระภิกษุ สามเณรด้วยความอ่อนน้อมสุภาพและสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ทางพระพุทธศาสนาอย่างไม่ให้ขาดตกบกพร่อง

พระพุทธรูป จังหวัดอยุธยา

ร่มพระ ร่มพระสงฆ์ ราคาถูก ราคาส่ง

ความพึงพอใจของลูกค้า คือเป้าหมายสูงสุดของร่มดี

สั่งซื้อ/สั่งผลิตร่มพระ กับร่มดี

สั่งผลิตร่มกับร่มดี ขั้นตอนที่ 1

ขั้นตอนที่ 1

เลือกแบบร่มของคุณ

เลือกแบบร่มที่คุณลูกค้าต้องการ เช่น ร่มพระสงฆ์สำเร็จรูป, ร่มพระสงฆ์พร้อมสกรีนโลโก้/ข้อความ เป็นต้น

สั่งผลิตร่มกับร่มดี ขั้นตอนที่ 2

ขั้นตอนที่ 2

ระบุจำนวนร่มที่ต้องการ

แจ้งจำนวนร่มที่คุณลูกค้าต้องการสั่งซื้อ/ผลิต (ขั้นต่ำในการผลิต … คัน)

สั่งผลิตร่มกับร่มดี ขั้นตอนที่ 3

ขั้นตอนที่ 3

สรุปรายละเอียดร่ม

ตกลงรายละเอียดในการผลิตร่ม ตามที่คุณลูกค้าต้องการ

 

สั่งผลิตร่มกับร่มดี ขั้นตอนที่ 4ขั้นตอนที่ 4

ชำระเงินค่ามัดจำ

ร่มดี แจ้งระยะเวลาในการดำเนินการพร้อมสรุปราคา และวิธีการจัดส่ง ชำระเงินงวดแรก 50% และชำระส่วนที่เหลือเมื่อได้รับสินค้าเรียบร้อย

ติดต่อร่มดี

095-8370033

Sales@romdee.net

Line@ id: @Rom_dee

บริษัท วี โกลบอล เทรดดิ้ง จำกัด
460/1 หมู่ที่ 3 ซอยสุขสวัสดิ์ 14/1 ถนนสุขสวัสดิ์ แขวงจอมทอง เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150
แฟกซ์: 02-4771859