ร่มดี > ร่มพระสงฆ์ > ศาสนาพุทธ คืออะไร ประวัติความเป็นมาของพุทธศาสนา
This post was updated on: December 2024
ศาสนาพุทธ ประวัติความเป็นมาของพุทธศาสนา
ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ และนอกเหนือจากในประเทศไทยก็ยังมีผู้คนจากประเทศอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมากทั่วโลกที่นับถือพุทธศาสนา
ดังนั้น จึงพูดได้ว่าพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่มีความสำคัญมากศาสนาหนึ่งของโลก ในประเทศไทยนั้น ศาสนาพุทธมีอิทธิพลต่อความเชื่อ วัฒนธรรม ประเพณีและการดำเนินชีวิตของผู้คนเป็นอย่างมาก ร่มพระ ร่มพระสงฆ์ ร่มถวายพระ อย่างดี ราคา ขายส่ง
เราจึงควรทำความรู้จักกับศาสนาพุทธอย่างถ่องแท้ เพื่อที่จะได้มีความเข้าใจถึงหลักการและความสำคัญของพุทธศาสนาที่มีความเกี่ยวพันกับผู้คน สังคม วิถีชีวิตและวัฒนธรรมประเพณีอย่างแยกไม่ออก
[สารบัญ]
ความหมายของพุทธศาสนา
ศาสนาพุทธ ความหมาย – พุทธศาสนาเป็นศาสนาชั้นนำที่มีความสำคัญของโลก ความหมายของพุทธศาสนา คือ ศาสนาแห่งความรู้แจ้ง
มีแนวคิดอเทวนิยมที่ปฏิเสธการมีอยู่ของพระผู้สร้างหรือพระเจ้า แต่เชื่อในศักยภาพของมนุษย์ว่าสามารถพัฒนาตนเองให้บรรลุธรรมและพ้นทุกข์ได้ด้วยตัวเอง
ศาสนาพุทธ ภาษาอังกฤษ คือ Buddhism
ความเป็นมาของพุทธศาสนา
ความเป็นมา ศาสนาพุทธ – พุทธศาสนามีความเป็นมาที่ยาวนานกว่า 2,600 ปี โดยมีจุดกำเนิดมาจากพระโคตมพุทธเจ้าที่ได้ตรัสรู้อริยสัจ 4 ซึ่งเป็นความจริงของการพ้นทุกข์
และได้เดินทางเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนที่พระองค์ตรัสรู้ได้ให้แก่ผู้คนทั้งหลาย จนกลายมาเป็นพุทธศาสนาที่เรารู้จักกันอย่างในทุกวันนี้
กำเนิดของพระโคตมพุทธเจ้านั้น มาจากวรรณะกษัตริย์ที่สูงส่งแห่งศากยวงศ์ โดยพระราชบิดาของพระพุทธเจ้าคือ พระเจ้าสุทโธทนะ ผู้ครองกรุงกรุงกบิลพัสดุ์แห่งแคว้นสักกะ และพระราชมารดาคือพระนางสิริมหามายาเทวี
โดยพระนามเดิมของพระพุทธองค์นั้นคือ เจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติเมื่อวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 ณ สวนลุมพินีวัน หลังจากประสูติ อสีตดาบส ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของราชสกุลศากยวงศ์ได้เดินทางมาเยี่ยมและให้คำทำนายว่า “หากเจ้าชายอยู่ในเพศฆราวาส เจ้าชายจะเป็นจักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่ แต่หากออกบวชจะได้เป็นมหาศาสดาของโลก”
หลังประสูติได้ 7 วัน พระราชมารดาก็เสด็จทิวงคต จึงได้พระนางปชาบดีซึ่งเป็นพระขนิษฐาของพระนางสิริมหามายาเทวีเป็นผู้เลี้ยงดูต่อมา
เจ้าชายสิทธัตถะได้ทรงเติบใหญ่ตามกาลเวลาและได้เล่าเรียนศิลปะวิทยาแขนงต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ด้วยมีพระสติปัญญาที่ดีเลิศ
เมื่อพระชนมายุได้ 16 พรรษา เจ้าชายสิทธัตถะได้อภิเษกสมรสกับพระนางยโสธราพิมพา และเมื่อพระชนมายุได้ 29 พรรษา พระนางพิมพาก็ได้ประสูติพระราชโอรสมีชื่อว่า พระราหุล
แม้จะมีชีวิตที่สมบูรณ์พร้อมทุกอย่าง แต่เจ้าชายสิทธัตถะก็ยังทรงครุ่นคิดถึงทุกข์ของชีวิตและพยายามหาหนทางดับทุกข์อันเกิดจากความแก่ เจ็บ ตาย ในที่สุดจึงได้ตัดสินพระทัยออกบวชถือเพศเป็นบรรพชิตและได้เข้าศึกษาเพื่อแสวงหาธรรมยังสำนักอาฬารดาบส ที่กรุงราชคฤห์ แต่แม้จะเล่าเรียนจนจบพระองค์ก็ยังไม่ทรงพบหนทางดับทุกข์ได้อยู่ดี
ดังนั้น จึงทรงตัดสินพระทัยคิดค้นคว้าแสวงหาความรู้ด้วยพระองค์เอง ไม่ว่าจะเป็นการบำเพ็ญทุกรกิริยาเป็นระยะเวลาถึง 6 ปี แต่ก็ยังไม่พบหนทางดังกล่าว
ในที่สุดพระองค์จึงกลับมาเสวยพระกระยาหารและปฏิบัติตามทางสายกลาง จนในที่สุดก็ได้ตรัสรู้หนทางพ้นทุกข์ในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 ในขณะที่มีพระชนมายุได้ 45 พรรษา
จากนั้นจึงทรงเดินทางไปแสดงปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 ซึ่งในการแสดงธรรมครั้งนี้ได้มีปัญจวัคคีย์ท่านหนึ่งมีนามว่า อัญญาโกณฑัญญะ ได้เข้าใจถึงหลักธรรมที่พระพุทธองค์แสดงจนบรรลุโสดาบันและได้ทูลขออุปสมบทในพระพุทธศาสนา ซึ่งพระพุทธเจ้าก็ทรงอนุญาตให้บวช
ซึ่งเรียกการบวชครั้งนี้ว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา ทำให้พระพุทธศาสนาครบองค์ 3 คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
พระพุทธเจ้าได้ออกเผยแผ่สิ่งที่พระองค์ตรัสรู้เป็นเวลา 45 ปี ก่อนจะเสด็จปรินิพพานในในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 ณ สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา สิริรวมพระชนมายุได้ 80 พรรษา ถึงแม้พระพุทธเจ้าจะทรงดับขันธ์ปรินิพพานไปเป็นเวลากว่า 2,600 ปีแล้ว แต่พระพุทธศาสนายังคงดำรงต่อเนื่องสืบมาจนถึงทุกวันนี้
องค์ประกอบพุทธศาสนา
ศาสนาพุทธ องค์ประกอบ – มีอยู่ด้วยกัน 6 ประการดังต่อไปนี้
- ผู้ก่อตั้งศาสนาหรือศาสดาของพุทธศาสนา คือ พระพุทธเจ้า
- หลักคำสอน พุทธศาสนามีคำสอนอยู่ด้วยกัน 2 ระดับ คือ ระดับศีลธรรมที่สอนให้ทำความดี ละเว้นความชั่ว และคำสอนในระดับสูงคือ อริยสัจ 4 หนทางแห่งการพ้นทุกข์
- นักบวช ในพุทธศาสนาคือพระภิกษุสงฆ์ มีทั้งหน้าที่ตามพระธรรมวินัยในการศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า และปฏิบัติตามคำสอนนั้นพร้อมทั้งเผยแผ่คำสอนของพระพุทธเจ้าและสืบทอดศาสนา และหน้าที่ต่อสังคมมีหน้าที่สั่งสอนอบรมประชาชนให้มีคุณธรรมและอุปถัมภ์ประชาชน สิ่งแวดล้อม และอนุรักษ์ศิลปวัตถุ ปูชนียวัตถุรวมถึงสัตว์ต่างๆ
- ศาสนิกชน เป็นผู้เลื่อมใสในพุทธศาสนา คนที่นับถือศาสนาพุทธเรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า พุทธมามกะ เป็นผู้ที่มีความยินดีในการปฏิบัติตามคำสอนและมีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดาของตน
- ศาสนสถาน พุทธศาสนามีวัดเป็นศาสนสถานหลักในการประกอบพิธีกรรม
- ศาสนพิธี เป็นพิธีกรรมทางศาสนา ซึ่งพุทธศาสนามีพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของผู้คนในประเทศไทยอย่างแยกไม่ออก
หลักธรรมของพุทธศาสนา
ศาสนาพุทธ หลักธรรม – พุทธศาสนามีคำสอนที่สำคัญหลายประการ โดยมีหัวใจหลักของพุทธศาสนา 3 อย่างที่ประกอบไปด้วย
- ไม่ทำชั่วทั้งทางกาย วาจา ใจ
- ทำความดี
- ทำจิตใจให้ผ่องใส
ส่วนหลักธรรมที่สำคัญของพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้และความจริงอันประเสริฐ ที่ช่วยให้ผู้คนเข้าใจถึงความเป็นจริงของธรรมชาติที่ประกอบไปด้วยหลักความจริง ดังต่อไปนี้
- ทุกข์ เป็นสภาวะของความไม่สบายกายไม่สบายใจที่ทนได้ยาก มีความบีบคั้น
- สมุทัย เหตุให้เกิดความทุกข์ ที่มีสาเหตุมาจากตัณหา 3 อย่าง
- นิโรธ ความดับทุกข์ ที่ทำให้การดับตัณหาให้สิ้นไป
- มรรค เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงแก่ความดับทุกข์ ที่ประกอบไปด้วย มรรค 8 ประการ
หลักธรรมคำสอนของพุทธศาสนา ได้ถูกบันทึกรวบรวมไว้ในคัมภีร์ชื่อ พระไตรปิฏก อันประกอบด้วยพระธรรมและพระวินัย ที่เป็นหลักสำคัญของพุทธศาสนา
พิธีกรรมทางศาสนาพุทธ
ศาสนาพุทธ พิธีกรรม – พิธีกรรมทางพุทธศาสนามีอยู่ด้วยกันหลายอย่าง
แต่อาจแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท ดังต่อไปนี้
- พิธีกรรมตามที่บัญญัติเอาไว้ตามพระพุทธศาสนา ที่จะต้องมีการปฏิบัติพิธีกรรมนั้นให้ถูกต้องตามที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติเอาไว้ อย่างเช่น พิธีทอดกฐิน, พิธีบรรพชาอุปสมบท และการถวายสังฆทาน เป็นต้น
- พิธีกรรมที่จัดขึ้นโดยพุทธศาสนิกชนในท้องถิ่น ซึ่งจะมีความแตกต่างกันไปตามแต่วัฒนธรรมประเพณีของแต่ละท้องถิ่น เป็นการผสานวัฒนธรรมเข้ากับความเชื่อทางศาสนา เช่น ประเพณีการตักบาตรดอกไม้ ที่วัดพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี, ประเพณีบุญบั้งไฟ แถบภาคอีสาน และประเพณีชักพระของภาคใต้ เป็นต้น
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันสําคัญทางพระพุทธศาสนามีกี่วัน อะไรบ้าง – เป็นวันที่มีความสำคัญเพื่อให้ชาวพุทธได้ระลึกถึงความสำคัญของพุทธศาสนา และยังได้รำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ในศาสนาพุทธ ซึ่งประกอบไปด้วยวันสำคัญต่างๆ ดังต่อไปนี้
วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เป็นวันที่พระพุทธเจ้า ประสูติ, ตรัสรู้ และปรินิพพาน
วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 หากปีไหนมีเดือนอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองครั้ง ก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 เป็นวันที่พระสงฆ์มาชุมนุมกันครั้งใหญ่ 1,250 รูปโดยมิได้นัดหมายเรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต และพระพุทธเจ้าก็ได้แสดงโอวาทปาฎิโมกข์แก่พระสงฆ์สาวกเป็นครั้งแรก ณ เวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์
วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5 โดยพระธรรมที่พระองค์ทรงเทศนาในครั้งนี้มีชื่อว่า ธรรมจักรกัปปวัฒนสูตร ซึ่งเมื่อปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ฟังจนจบ ก็มีปัจวัคคีย์ท่านหนึ่งคือ อัญญาโกญฑัญญะ ได้เข้าถึงพระธรรมเทศนาและบรรลุเป็นโสดาบัน จึงทูลขอพระพุทธเจ้าขอบวชในพระพุทธศาสนาของพระองค์จึงเป็นวันที่พุทธศาสนาครบองค์ 3 คือ มีพร้อมทั้งพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
วันเข้าพรรษา ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เป็นวันที่พุทธศาสนากำหนดให้พระภิกษุสามเณรต้องอยู่จำพรรษาประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน เว้นแต่มีกิจจำเป็นที่ไม่สามารถกลับมาในวันเดียวได้ก็อนุญาตให้ไปพักแรมข้ามคืนได้คราวละไม่เกิน 7 วัน เรียกกว่า สัตตาหะ
วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เป็นวันสิ้นสุดการจำพรรษาและเป็นวันเริ่มต้นกฐินกาล ซึ่งเป็นเป็นประเพณีที่สำคัญของพุทธศาสนิกชนอย่างหนึ่ง โดยมีกำหนดระยะเวลาในการทอดกฐินตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 การทอดกฐินในปัจจุบัน ถือว่าเป็นทานพิเศษ กำหนดเวลาปีหนึ่งทอดถวายได้เพียงช่วงเวลานี้เวลาเดียวเท่านั้น หากนอกเหนือจากนั้นจะไม่เรียกว่าทอดกฐิน
พุทธศาสนา เป็นศาสนาที่มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของผู้คนเป็นจำนวนมาก รวมทั้งมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตและวัฒนธรรมประเพณีของคนไทย โดยมีหลักธรรมคำสั่งสอนและมีประเพณีที่สำคัญหลายอย่าง ที่เป็นสิ่งเตือนใจให้ชาวพุทธได้ตระหนักถึงความสำคัญของพุทธศาสนา
ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราจะต้องทำความเข้าใจกับพุทธศาสนาเพื่อให้เข้าใจความเป็นมาและความสำคัญ
ขายส่งร่มพระ ร่มพระสงฆ์ ราคาถูก ราคาส่ง
ความพึงพอใจของลูกค้า คือเป้าหมายสูงสุดของร่มดี
สั่งซื้อ/สั่งผลิตร่มพระ กับร่มดี
ขั้นตอนที่ 1
เลือกแบบร่มของคุณ
เลือกแบบร่มที่คุณลูกค้าต้องการ เช่น ร่มพระสำเร็จรูป, ร่มพระพร้อมสกรีนโลโก้/ข้อความ เป็นต้น
ระบุจำนวนร่มที่ต้องการ
แจ้งจำนวนร่มที่คุณลูกค้าต้องการสั่งซื้อ/ผลิต (ขั้นต่ำในการผลิต … คัน)
ติดต่อร่มดี
บริษัท วี โกลบอล เทรดดิ้ง จำกัด
460/1 หมู่ที่ 3 ซอยสุขสวัสดิ์ 14/1 ถนนสุขสวัสดิ์ แขวงจอมทอง เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150
แฟกซ์: 02-4771859