อุปสมบท – การอุปสมบทเป็นคำที่คุ้นหูคนไทยมาอย่างช้านาน โดยเฉพาะผู้ชาย เพราะเรามักจะได้ยินประโยคที่ว่า “บวชทดแทนบุญคุณให้พ่อแม่ ให้พ่อแม่ได้เกาะชายผ้าเหลืองขึ้นสวรรค์”
เชื่อว่าหลายคนคงคิดว่าคำว่า “บวช” กับคำว่า “อุปสมบท” นั้นเป็นคำเดียวกัน ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว คำนี้มีความหมายที่แตกต่างกัน แต่สามารถใช้แทนกันได้ ร่มพระ ร่มถวายพระสงฆ์ ราคาส่ง ราคาถูก คุณภาพดีที่สุด
ซึ่งวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ บวชอุปสมบท กับคุณค่าที่แท้จริงว่าเป็นเช่นไร
[สารบัญ]
การบวช คืออะไร
การบวช หมายถึง – การบวชหรือบวช เป็นคำภาษาไทยสามารถทำการถอดรูปมาจากคำที่อยู่ในภาษาบาลีว่า “ปพฺพชฺชา” ซึ่งมีความหมายว่า “ไปโดยสิ้นเชิง หรือ เว้นโดยสิ้นเชิง”
หากทำการแปลเป็นภาษาชาวบ้านทั่วไป ก็คือ การที่ไปจากความเป็นฆราวาส(คนทั่วไป) ไปสู่การเป็นบรรพชิต หรือ ละเสียจากวิสัยที่ชาวโลกเขามีกัน เป็นกันโดยสิ้นเชิง
ซึ่งการสละซึ่งความเป็นฆราวาสที่ถือว่าเป็นการบวชอย่างแท้จริงมีลักษณะดังนี้
1. การสละความมีทรัพย์
คือ การใช้ชีวิตโดยที่ไม่ต้องมีทรัพย์สมบัติและดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยปัจจัยที่มีผู้ศรัทธานำมาถวาย โดยที่ไม่มีการเลือกหรือกำหนดว่าต้องการอะไร
ซึ่งของที่นำมาถวายถือว่าเป็นสิทธิอันชอบธรรมของผู้บวช
2. การสละวงศ์ญาติทั้งหลาย
คือ การไม่มีความห่วงหา อาลัยอาวรณ์กับญาติพี่น้อง คนรักหรือครอบครัว ไม่ทำการช่วยเหลือไม่ว่ากรณีใดอย่างที่ฆราวาสพึงกระทำให้แก่กัน
ไม่ห่วงใยว่าคนรัก ญาติพี่น้องจะมีการกินอยู่อย่างไร มีเงินพอใช้หรือไม่ ไม่ยุ่งเรื่องส่วนตัวของผู้อื่น เพราะนั้นถือว่าไม่ใช่กิจของบรรพชิต และการไม่ยึดติดหรือแบ่งชนชั้นว่านั้นญาติเรา นั้นคนรักของเรา เพราะเราได้สละแล้วซึ่งญาติในทางฆราวาส
แต่จะต้องทำการแบ่งปันธรรมะ เพื่อให้หมู่ญาติได้รับรู้ถึงพระธรรมคำสั่งสอนที่ทำให้ชีวิตของพวกเขาเจริญขึ้น
3. การละเครื่องนุ่งห่มอย่างฆราวาส
คือ การไม่นุ่งห่มอย่างฆราวาส และใส่เครื่องนุ่งห่มอย่างพระ ด้วยการห่มจีวร ซึ่งพระภิกษุทุกองค์ล้วนกระทำอยู่เมื่อทำการบวชเข้ามาแล้ว
ซึ่งการละเครื่องนุ่งห่มอย่างฆราวาสนี้ ยังรวมถึงการเสริมสร้างความสวยความงามและกลิ่นหอมด้วย
ดังนั้นพระสงฆ์ควรทำการนุ่งห่มจีวรเพื่อปกปิดร่างกายและเพิ่มความอบอุ่นเท่านั้น
4. ละการกินอยู่อย่างฆราวาส
คือ การฉันอาหารตามเวลาที่กำหนด เว้นการฉันอาหารในตอนกลางคืน
และที่สำคัญในการละการกินอยู่อย่างฆราวาส คือ การฉันอาหารของพระสงฆ์เป็นการฉันเพื่อดำรงชีวิต ไม่ได้ฉันเพื่อความอร่อย เพื่อความสนุก เพื่ออวดความร่ำรวย หรือเพื่อบำรุงบำเรอความอยากของตนเอง
ซึ่งหากท่านทำการบวชแล้ว ท่านจะต้องละกิเลสในการกินให้ได้ทุกทาง และดำรงไว้ว่าการฉันอาหารเป็นการฉันเพื่อดำรงชีพ ไม่ได้ฉันเพื่อตอบสนองความอยากของตน ปริมาณการฉันก็ให้พอดีกับความต้องการของร่างกาย
ตามคำที่พระพุทธเจ้าได้เคยตรัสไว้ว่า “พวกเธอ จงฉันบิณฑบาตสักว่าเหมือนกับน้ำมันสำหรับหยอดเพลาเกวียน หรือเหมือนกับมารดาบิดาซึ่งหลงทางกลางทะเลทราย ต้องจำใจกินเนื้อบุตรของตนที่ตายแล้วในกลางทะเลทราย เพื่อประทังชีวิตของตนเองฉันนั้น”
เพราะการฉันแบบนี้คือ การฉันเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และฉันอย่างระมัดระวังรู้คุณค่าของอาหารทุกอย่างที่ฉันเข้าไป
5. ละการใช้สอยอย่างฆราวาส
คือ การละซึ่งสิ่งของที่ไม่จำเป็นในชีวิต เช่น ของที่มีเพื่อความสวยงาม, ของที่มีเพื่อความสะดวก, ของที่มีเพื่อความสบาย, ของที่มีเพื่อความดูดี, ของที่มีเพื่อบารมี, ของที่มีเพื่อความสนุก, หรือของที่มีเพื่อความบันเทิงใจ เป็นต้น
ซึ่งของเหล่านี้อาจจำเป็นสำหรับฆราวาส แต่สำหรับพระสงฆ์แล้ว สิ่งของเหล่านี้ไม่จำเป็น ซึ่งพระสงฆ์จะมีได้ก็แต่สิ่งของที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในแต่ละวันเท่านั้น
6. ละอาการกิริยาวาจาอย่างฆราวาส
คือ กิริยาวาจาของพระสงฆ์จะต้องมีความสำรวม ไม่พูดตามใจ รู้จักกำหนดจิตให้รู้ว่าสิ่งที่จะกล่าวมานี้เป็นวาจาที่เกิดขึ้นจากกิเลสหรือได้พิจาณาไตร่ตรอง มีการกำหนดวาจาก่อนที่จะพูดแล้วหรือยัง ไม่ควรพูดเพื่อสนองกิเลสของตน
ไม่ควรพูดเพื่อสร้างความสะดวกสบายให้กับชีวิต ไม่ควรพูดที่ก่อให้เกิดความแตกแยก ไม่ควรพูดโดยที่ไม่ได้ไตร่ตรองไว้ก่อน เพราะการเป็นพระสงฆ์ต้องรู้ขณะจิตในทุกเวลา
7. ละความรู้สึกนึกคิดอย่างฆราวาสสิ้นเชิง
คือ การละความคิดอย่างฆราวาส เช่น การคิดเชิงชู้สาว, การคิดถึงกามคุณ, การปล่อยอารมณ์ในเรื่องร่างกาย, คิดถึงการสร้างครอบครัว, คิดถึงการสร้างความร่ำรวย, คิดถึงสิ่งที่ทำให้คนเองสุขสบาย, การคิดถึงแต่สิ่งที่ควรมีควรเป็นหากเป็นฆราวาส เป็นต้น
ความคิดเหล่านี้ควรสละทิ้งไป เพราะจะทำให้เกิดความฟุ้งซ่านและไมสามารถเข้าใจในพระธรรมคำสั่งสอน เนื่องจากความคิดจะมีสิ่งเย้าหยวนจนไม่สงบได้
นี่คือความหมายของคำว่าบวชอย่างแท้จริง เพราะหากทำการบวชและสามารถละได้ทั้ง 7 สิ่งที่กล่าวมานี้ ถือเป็นการบวชที่มีการละอย่างสิ้นเชิงโดยแท้
ซึ่งจะส่งผลให้การบวชที่เกิดขึ้นเป็นการบวชที่สร้างอานิสงส์อันสมบูรณ์ ถือเป็นบุญต่อพ่อแม่และญาติพี่น้องที่ได้เข้ามาร่วมอนุโมทนาบุญในการบวชด้วย ร่มงานศพ ร่มแจกงานฌาปนกิจ ราคาโรงงานผู้ผลิต
ประเภทของการบวช
ประเภท การบวช – การบวช คือ การละเว้นจากลักษณะของคนทั่วไปอย่างสิ้นเชิง
ซึ่งในปัจจุบันเราจะใช้คำว่า “บวช” อย่างแพร่หลาย แต่ในความเป็นจริงแล้วการบวชยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
1. การบรรพชา
คือ คำที่ใช้ในการบวชสามเณร สามเณรี สิกขมานา และแม่ชี แต่ที่รู้จักกันในปัจจุบันจะใช้ในการบรรพชาสามเณร
สำหรับ แม่ชีและสามเณรี จะให้คำว่าบวช
สำหรับการบรรพชาสามเณร ผู้ที่ต้องการบรรพชาจะต้องมีอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป การบรรพชาเป็นการบวชเพื่อเรียนรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
สามเณร คือ นักบวชชายอายุน้อย
สามเณรี คือ นักบวชหญิงอายุน้อย
สิกขมานา คือ ผู้ที่ถือศีล 6 ข้อ ก่อนที่จะบวชเป็นภิกษุณี, สามเณรี
โดยสามเณรจะต้องมีการเว้นจากประพฤติตนเหมือนที่เคยทำเมื่อครั้งที่ยังเป็นคนทั่วไปหรือฆราวาส และเข้ามาใช้ชีวิตแบบสันโดษอย่างสงบ โดยมีความต้องการที่จะหลุดพ้นจากกิเลศเช่นเดียวกับพระสงฆ์
แต่ยังไม่พร้อมที่จะเรียนรู้ในขั้นสูงหรือเป็นการบวชเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับตนเอง เพื่อที่จะทำการบวชพระสงฆ์ต่อไป เนื่องจากสามเณรจะทำการถือศีลเพียงแค่ 10 ข้อเท่านั้น
การบรรพชาสามารถทำการบวชโดยให้พระอุปัชฌาย์เพียงองค์เดียวในการบรรพชาได้
2. การอุปสมบท
คือ การบวชพระโดยอุปสมบท มีความหมายว่า “การเข้าถึง” ดังนั้นการอุปสมบทก็คือการเข้าถึงพระธรรมนั้นเอง
การอุปสมบท มีชื่อเรียกเต็ม ๆ ว่า “อุปสมบทกรรม” ซึ่งการอุปสมบทถือเป็นการสืบสานพระพุทธศาสนาให้คงอยู่ต่อไป
โดยผู้ที่จะทำการอุปสมบทได้จะต้องมีอายุครบ 20 ปี และได้รับการอนุมัติจากเจ้าคณะอำเภอหรือเจ้าคณะจังหวัดเสียก่อน
หลังจากทำการตรวจสอบว่าไม่เป็นบุคคลต้องห้ามในการบวช เช่น ติดคดีความ ติดยา เป็นต้น โดยผู้ที่อุปสมบทแล้วจะต้องถือศีลทั้งหมด 227 ข้อ
โดยสมัยพุทธกาลมีการอุปสมบทด้วยกัน 3 แบบในการอุปสมบทพระภิกษุ ดังนี้
2.1 เอหิภิกขุอุปสัมปทา คือ การอุปสมบทที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า “”เอหิ ภิกขุ แปลว่า เธอจงมาเป็นภิกษุเถิด”
2.2 ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา *** คือ การอุปสมบทโดยมีคณะสงฆ์ทำการประชุมอยู่ภายในอุโบสถ และคณะสงฆ์เป็นผู้อนุญาตให้ทำการอุปสมบทได้ โดยผู้ขอทำการอุปสมบทจะต้องทำการขานขอ 4 ครั้ง หากไม่มีผู้ใดคัดค้านถือว่าได้รับอนุญาตให้อุปสมบทได้
2.3 โอวาทปฏิคคหณูปสัมปทา คือ การอุปสมบทที่พระพุทธเจ้าทรงประทานพระโอวาทแก่พระมหากัสสปะ เมื่อท่านทรงประทานโอวาทเสร็จ พระมหากัสสปะก็ถือเป็นพระภิกษุแล้ว
*** ซึ่งในปัจจุบันนี้ การอุปสมบทจะเป็นการอุปสมบทแบบญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา คือ การขอรับอนุญาตจากคณะสงฆ์เพื่อทำการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ
คำขอบรรพชาอุปสมบท (แบบอุกาสะ)
การใช้คำว่า บวชและอุปสมบท
ปัจจุบันนี้การใช้คำว่า ”บวช” และ “อุปสมบท” ได้มีรูปแบบการใช้ที่ต่างกันออกไป
โดยจะมีการใช้คำว่าบวชแทนคำว่าบรรพชาและอุปสมบท ซึ่งก็ไม่ถือว่าผิด เพราะคำว่าบวชนั้นเป็นคำรวมของคำว่าบรรพชาและอุปสมบทอยู่แล้ว
ดังนั้นเราจึงได้ยินคำว่า บวชพระ บวชเณร บวชชี แต่ไม่ค่อยได้ยินคำว่า บรรพชาสามเณร อุปสมบทพระ บรรพชา แม่ชี นอกจากการเขียนเป็นเอกสารทางราชการยังมีการใช้คำว่า บรรพชาและอุปสมบทอยู่
อานิสงส์ของการบวชอุปสมบท
บุญพิเศษของการอุปสมบท หลวงพ่อฤาษีลิงดำ(พระราชพรหมยาน)
คนไทยเป็นชาวพุทธที่มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างเหนี่ยวแน่น และมีความเชื่อว่าการบวชเป็นพระภิกษุอยู่ในร่มกาสาวพัสตร์ ถือว่าเป็นบุญอันใหญ่ล่วงที่จะทำให้ได้ไปเกิดบนสวรรค์
ดังนั้น จึงนิยมให้บุตรหลานที่เป็นผู้ชายทำการบวชเมื่อถึงวัยอันสมควร โดยนิยมบวชกันในช่วงเข้าพรรษา เพื่อที่เมื่อบวชแล้วจะได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมคำสั่งสอนอย่างเต็มที่
ซึ่งอานิสงส์ของการบวชอุปสมบทมีดังนี้
1. อานิสงส์ที่แก่ตัวผู้บวชเอง
การบวชอุปสมบทจะมีอานิสงส์ต่อผู้ที่ทำการบวชเป็นคนแรก ซึ่งอานิสงส์ที่ได้ต่อผู้อุปสมบท มีดังนี้
1.1 ช่วยให้เกิดการหลุดพ้น
สำหรับผู้ที่ทำการอุปสมบทศึกษาพระธรรมเป็นเวลานานหรือตลอดชีวิต จะทำให้ชีวิตหลุดพ้นจากวัตสงสารหรือนิพพาน ทำให้ไม่ต้องไปเวียนว่ายตายเกิดให้เกิดความทุกทรมานในชาติต่อไป
1.2 ทำให้ใจเย็น มีสติมากขึ้น
ผู้ที่ทำการอุปสมบทจะต้องมีการฝึกควบคุมจิตใจและอารมณ์โดยการกำหนดลมหายใจ รู้ว่าลมหายใจเป็นอย่างไร ซึ่งทำให้สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ดี
อนึ่งด้วยเหตุนี้ จึงได้มีข้อสันนิษฐานว่าการที่ผู้บวชจะต้องมีอายุครบ 20 ปี เนื่องจากในช่วงอายุดังกล่าวเป็นช่วงวัยรุ่น ใจร้อน อาจเกิดเหตุทะเลาะหรือมีเรื่องบาดหมางที่รุนแรงจนบาดเจ็บหรือถึงขั้นเสียชีวิตได้ จึงให้ทำการอุปสมบทเข้าไปศึกษาพระธรรมจะได้รู้จักควบคุมสติ ควบคุมจิตใจทำให้ใจเย็น ไม่มีเรื่องทะเลาะวิวาทก็เป็นได้
2. อานิสงส์ต่อผู้มีพระคุณ
การที่จะอุปสมบทได้นั้น ผู้ขออุปสมบทจะต้องได้รับอนุญาตจากพ่อแม่และผู้ที่ทำการเลี้ยงดูเสียก่อน เพราะพ่อแม่คือผู้ให้ชีวิต และเพื่อให้พ่อแม่ได้รับรู้ถึงคุณงามความดีของลูกที่จะทำการอุปสมบท
ซึ่งการอุปสมบทเป็นการสร้างความปลื้มปิติยินดีให้กับพ่อแม่และผู้มีพระคุณทุกคน ทำให้พวกท่านมีความสุข ความสบายใจ เป็นการทดแทนบุญคุณและค่าน้ำนมตามความเชื่อทางพระพุทธศาสนา
นอกจากนั้นผู้ที่อุปสมบทอย่างเต็มใจนั้นถือว่าเป็นคนที่มีจิตใจดี เป็นคนดี ดังนั้นจึงเป็นผู้ที่สร้างความเจริญทางธรรมให้กับสังคมอีกด้วย
3. อานิสงส์ต่อพระศาสนา
พระพุทธศาสนาจะคงอยู่ต่อไปได้ก็ต้องมีผู้ที่ทำการสืบทอดพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าให้คงอยู่
ดังนั้นการอุปสมบท คือ เป็นการสร้างบุญที่ยิ่งใหญ่ เพราะได้สืบทอดพระพุทธศาสนาให้คงอยู่ เพื่อที่ลูกหลานจะได้เรียนรู้และเข้าใจ เพื่อให้หลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์ได้
อานิสงส์จากการบวชอุปสมบทตามความเชื่อ
นอกจากอานิสงส์ของการบวชอุปสมบทตามหลักความเป็นจริงแล้ว ยังมีความเชื่อที่สืบต่อกันมาเกี่ยวกับอานิสงส์หรือผลบุญของการบวชอุปสมบทดังนี้
1. ผลบุญส่งให้หน้าที่การงานจะเจริญรุ่งเรือง มีลาภยศ ต่อผู้ที่ทำการอุปสมบทและผู้ที่อนุโมทนาบุญในการอุปสมบท
2. เจ้ากรรมนายเวรที่มีอยู่จะทำการอโหสิกรรมในหนี้กรรมที่เคยมีกันแต่ครั้งอดีตชาติ ทำให้กรรมที่มีอยู่ลดน้อยลง
3. ส่งผลให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่มีอาการเจ็บป่วย สติปัญญาดี เข้าใจในหลักการเรียนและชีวิตมากขึ้น สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างชาญฉลาด มีความสุขในชีวิตมากขึ้น
4. มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คอยทำการคุ้มครองให้พ้นจากภัยอันตรายที่จะเข้ามาทำร้าย แต่หากผลกรรมที่ส่งมานั้นหนักมากจนไม่สามารถทำให้ผ่านพ้นไปได้ ผลบุญจากการอุปสมบทจะช่วยผลกำลังของกรรมให้ลดลง ทำให้กรรมที่ส่งมาเบาบางลง
5. ได้รับความเมตตาจากคนรอบข้าง ไม่ว่าทำการสิ่งใดก็ได้รับความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง มีเทวดาให้ความเมตตากรุณาในการชี้ทางชีวิตให้ไปในทางที่ดี
6. หากทำอาชีพค้าขายที่สุจริต การค้าจะมีความเจริญรุ่งเรือง มีลูกค้าเข้ามาไม่ขาดสาย มีเงินทองไหลเข้ามาไม่ขาดมือ ไม่ว่าจะพบเจออุปสรรคใด ๆ ก็จะมีทางออกอยู่เสมอ ไม่มีวันอับจน
7. อานิสงส์ผลบุญที่ได้จากการอุปสมบทยังส่งไปยังบุคคลในครอบครัวและผู้เป็นที่รักด้วย โดยร่างกายของพวกเขาจะแข็งแรง ปราศจากโรคภัยเข้ามารุ่มเร้า หรือหากมีอาการเจ็บป่วยก็เป็นแต่โรคที่ไม่รุ่นแรง สามารถรักษาให้หายได้ในระยะเวลาอันสั้น มีอายุยืนยาว
8. ไม่ว่าจะทำการสิ่งใดก็ประสบผลสำเร็จอย่างรวดเร็ว เพราะมีบุญกุศลคอยหนุนนำให้พบเจอแต่ความเจริญ
9. อุปสรรคที่เข้ามาในชีวิตน้อยลง ดำรงชีวิตได้อย่างราบรื่น หรือหากพบอุปสรรคก็สามารถหาทางออกได้อย่างรวดเร็ว ราวกับมีคนคอยช่วยชี้ทางให้
จะเห็นว่าอานิสงส์จากการบวชอุปสมบทนั้น เป็นอานิสงส์ที่แรงกล้าและสมบูรณ์ หากทำการบวชอุปสมบทและปฏิบัติอย่างถูกต้องตามหลักพระธรรมวินัย ผลบุญที่ได้รับจะไม่มีวันเสื่อมคล้าย
แต่ในทางกลับกันหากทำการบวชอุปสมบทแล้ว ไม่ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย มีการทำผิดศีล ไม่ว่าข้อใด ไม่มีการสำรวมกาย วาจา ใจ ผลที่ได้รับจะส่งผลร้ายต่อชีวิตและคนรอบข้างอย่างขาดไม่ถึง
ดังนั้นหากท่านทำการบอุปสมบทแล้ว ควรตั้งอยู่ในพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด เพื่อเป็นการสร้างบุญอันยิ่งใหญ่ให้กับตัวท่านเองและคนรอบข้าง โดยเฉพาะพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดท่านมา
การบวชอุปสมบท เป็นพิธีกรรมที่ทรงไว้ซึ่งความดีงาม เป็นการสืบสานประเพณีและพระพุทธศาสนาให้คงอยู่คู่กับคนไทย ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นการบวชหรืออุปสมบทก็ล้วนแล้วแต่เป็นการสร้างคุณงามความดี สร้างคุณค่าต่อตนเองและคนรอบข้าง ให้อยู่อย่างมีความสุขกาย สุขใจ ตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้านั่นเอง